วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง วิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ :กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา

ผู้วิจัย  นิสา พนมตั้ง
           ประวิต เอราวรรณ์
           ไพบูลย์ บุญไชย 


กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ อำเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
2. แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำนวน 18 แผน
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายถึง
เหมาะสมมากที่สุด
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้อง (IOC)
ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00


สรุปวิจัย  การศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลาในขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติและขั้นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ผู้วิจัยได้กำหนดกิจกรรมการพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอเนื้อหา ขั้นที่ 2 ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติและใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปโดยใช้กิจกรรมการพัฒนาในขั้นสอน โดยกิจกรรมการพัฒนาจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การนับ การรู้ค่าตัวเลขการจับคู่ การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับและลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากและใช้นิทานคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยการใช้แบบฝึกเตรียมความพร้อมประกอบการศึกษา ซึ่งการจัดกิจกรรม
      จากการประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลข และการจับคู่
พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินทักษะ
คณิตศาสตร์และการประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ
พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจนถึงระดับที่น่าพอใจ ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินทักษะคณิตศาสตร์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น