วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง วิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ :กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา

ผู้วิจัย  นิสา พนมตั้ง
           ประวิต เอราวรรณ์
           ไพบูลย์ บุญไชย 


กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ อำเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
2. แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำนวน 18 แผน
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายถึง
เหมาะสมมากที่สุด
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความสอดคล้อง (IOC)
ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00


สรุปวิจัย  การศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลาในขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติและขั้นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ผู้วิจัยได้กำหนดกิจกรรมการพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอเนื้อหา ขั้นที่ 2 ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติและใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปโดยใช้กิจกรรมการพัฒนาในขั้นสอน โดยกิจกรรมการพัฒนาจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การนับ การรู้ค่าตัวเลขการจับคู่ การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับและลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากและใช้นิทานคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยการใช้แบบฝึกเตรียมความพร้อมประกอบการศึกษา ซึ่งการจัดกิจกรรม
      จากการประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลข และการจับคู่
พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินทักษะ
คณิตศาสตร์และการประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ
พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทางทักษะคณิตศาสตร์ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจนถึงระดับที่น่าพอใจ ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินทักษะคณิตศาสตร์





วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

- อาจารย์กำหนดตารางกิจกรรม 





- อาจารย์ให้นักศึกษา เขียนหรือสรุป 2 ข้อ คือ 
 1. ในรายวิชานี้เรียนรู้เรื่องอะไร  และได้อะไรจากรายวิชานี้บ้าง
 2. ได้ทักษะการเรียนรู้อะไรบ้าง ได้อย่างไร 


อาจารย์มอบหมายงานให้สรุปวิจัยลงบล็อกของตนเอง คนละ 1 วิจัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

- กลุ่มหน่อย กล้วยและข้าวโพดสอบสอน ต่อ 

- แม็บ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเด็กปฐมวัย



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 

- อาจารย์ให้ทำสาระมาตรฐานเป็นแม็บลงในบล็อก
- วันนี้เพื่อนๆสอบสอนหน่วย ไข่
- อาจารย์คอมเม้นเรื่องไข่ มีไข่อะไรบ้าง 
- ควรมีการจดบันทึกเพื่อให้มีร่องรอย
- ถามเด็กว่าเด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง  เพื่อให้ประสบการณ์เดิมแก่เด็ก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
- อาจารย์แนะนำให้มีที่ลองไข่ ที่ใหม่ 
- การวางตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นการแทนค่า
- การวางเลขที่ไข่ฟองสุดท้าย หรือ ด้านล่างด้านบน ของไข่ 
- นับไข่ที่เหลือมีกี่ฟอง ในกรณีที่เหลือฟองสุดท้าย
- การสอนถนอมอาหาร ควรมีการลงมือปฏิบัติจริง

หมายเหตุ ; อ้างอิงรูปภาพจาก นางสาวขวัญชนก



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556

- วันนี้อาจารย์คัดเลือก และแบ่งหน้าที่ในการจัดกิจกรรมวันพุธหน้า
- กิจกรรมมี ดังนี้ 
  1 . รำ
  2. ร้องเพลง 
  3. โฆษณา
  4. พิธีกร
  5. การแสดงโชว์
  6. หน้าม้า 
จากนั้นเรียนเรื่อง การใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกแทนค่า 





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

- อาจารย์ให้ส่งสื่อการสอน
- อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับวิธีการและเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การสอนต้องดึงมาตรฐานเข้ามาด้วย เช่น

วันจันทร์ สอนเรื่องชนิดของไข่ : ไข่มีหลายชนิด เต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน

- มาตรฐานที่ 1 

  • ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดเท่าไร(เศษส่วน)
  • การแยก (-) เช่น มีไข่ทั้งหมด 9 ฟอง นำไข่สีขาวออก 5  ฟอง เหลือไข่ที่ไม่มีสีขาว 4 ฟอง
  • การรวม (+) เช่น การรวมไข่ชนิดต่างๆ
- มาตรฐานที่ 2 
  • การเปรียบเทียบ : การหยิบไข่ออกแบบ 1 ต่อ 1  ถ้าไข่ชนิดใดเหลือ แสดงว่า ไข่ชนิดนั้นมากกว่า  ซึ่งวิธีการนี้ จะทำให้เด็กทราบถึงวิธีการลบ (มากกว่า ลบ น้อยกว่า)

การจับคู่แบบ 1 ต่อ 1 (พื้นฐานการลบ)

วันอังคาร สอนเรื่องส่วนประกอบและลักษณะ
- วันพุธ สอนเรื่องประโยชน์ ทำเป็นนิทานเพื่อใช้สอนในเชิงเนื้อหา ซึ่งอาจแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย เช่น การเรียงลำดับเหตุการณ์ , ตำแหน่ง-ทิศทาง และการวัดระยะทาง 

- ควรสอนเด็กโดยเริ่มจากการหยิบจับ > ภาพ > สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- เลขฐานสิบเป็นเลขที่สำคัญ

 หมายเหตุ : คัดลอกจากนางสาว ขวัญชนก  เจริญผล เนื่องจากดิฉันขาดการเรียน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556

หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันขาดเรียน เนื่องจากไม่สบาย ปวดท้อง